ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ : Executive Functions = EF
Executive functions - วิกิพีเดีย
https://th.wikipedia.org/wiki/Executive_functions
Executive functions (แปลว่า หน้าที่บริหาร ตัวย่อ EF) สามารถนิยามได้ว่า "เป็นทักษะที่จำเป็นในการทำกิจที่มีเป้าหมาย มีจุดมุ่งหมาย"เป็นคำครอบคลุมที่ใช้กล่าวถึงกระบวนการทางประชานที่ควบคุมและจัดการกระบวนการทางประชานอื่น ๆ เช่น การวางแผน (planning), ความจำใช้งาน (working memory), การใส่ใจ, การแก้ปัญหา, การเข้าใจเหตุผลโดยใช้คำ (verbal reasoning), cognitive inhibition (การมีสมาธิ), cognitive flexibility (การคิดถึงหลาย ๆ เรื่องได้พร้อมกัน), task switching (การทำงานหลาย ๆ งานได้พร้อมกัน)และการเริ่มและตรวจสอบการกระทำ ตามทฤษฏีทางจิตวิทยา ระบบบริหาร (executive system) เป็นตัวควบคุมและบริหารกระบวนการทางประชานอื่น ๆ มีหน้าที่เกี่ยวกับกระบวนการที่บางครั้งเรียกว่าเป็น "executive functions" (หน้าที่บริหาร) "executive skills" (ทักษะการบริหาร) "supervisory attentional system" (ระบบควบคุมโดยการใส่ใจ) หรือ "cognitive control" (การควบคุมทางประชาน) ส่วน prefrontal cortex ของสมองกลีบหน้าเป็นส่วนที่ขาดไม่ได้ แต่ไม่ใช่ส่วนเดียว ที่ทำหน้าที่ดังที่กล่าวมานี้
--
ประชาน..จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%99
ประชาน[1] หรือ ปริชาน[2] หรือ การรับรู้[3] (อังกฤษ: Cognition) เป็น "การกระทำหรือกระบวนการทางสมองเพื่อให้ได้ความรู้ความเข้าใจผ่านความคิด ประสบการณ์ และประสาทสัมผัส"[4] ซึ่งรวมกระบวนการต่าง ๆ รวมทั้ง
ความรู้
การใส่ใจ
ความจำพร้อมความจำใช้งาน (working memory)
การประเมินตัดสินคุณค่าความสำคัญ
การหาเหตุผลพร้อมการคณนา
การแก้ปัญหาและการตัดสินใจ
ความเข้าใจ
การใช้ภาษา
ให้สังเกตว่า ประชานของมนุษย์มีทั้งแบบ "ใต้สำนึก" และ "เหนือสำนึก" เป็นไปในเรื่องทั้ง "รูปธรรม" และ "นามธรรม" ทั้งแบบ "รู้เอง" (intuitive เช่นการรู้ภาษา) และแบบ "นึกคิด" (conceptual เช่นการรู้หลักภาษา) กระบวนการทางประชานทั้งใช้ความรู้ที่มีอยู่และสร้างความรู้ใหม่ ๆ
--
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
http://www.siripenschool.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147486585&Ntype=11
EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
EF ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
EF (Executive Functions) เป็นกระบวนการทางความคิด (Mental process) ในสมองส่วนหน้า ที่เกี่ยวข้องกับการคิด ความรู้สึก และการกระทำ เช่น การยั้งใจคิดไตร่ตรอง การควบคุมอารมณ์ การยืดหยุ่นทางความคิด การตั้งเป้าหมาย วางแผน ความมุ่งมั่น การจดจำและเรียกใช้ข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ การจัดลำดับความสำคัญของเรื่องต่างๆ และการทำสิ่งต่างๆ อย่างเป็นขั้นเป็นตอนจนบรรลุความสำเร็จ ซึ่งเป็นทักษะที่มนุษย์เราทุกคนต้องใช้ มีความสำคัญยิ่งต่อทั้งความสำเร็จในการเรียน การทำงาน รวมทั้งการมีชีวิตครอบครัว ทักษะ EF นี้นักวิชาการระดับโลกชี้แล้วว่า สำคัญกว่าIQ
ทั้งนี้ มีงานวิจัยชัดเจนว่า ช่วงวัย 3-6 ปีนี้ เป็นช่วงเวลาทองของชีวิตในการพัฒนาทักษะ EF ให้กับเด็ก เพราะสมองจะมีการพัฒนาทักษะ EF ได้ดีที่สุดในช่วงเวลานี้ พ้นจากช่วงเวลานี้ไปถึงวัยเรียน วัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ตอนต้น แม้จะยังพัฒนาได้ แต่ก็จะไม่ได้ดีเท่ากับช่วงปฐมวัย
Executive Functions (EF) ประกอบด้วยทักษะ 9 ด้าน ประกอบด้วย
1. Working memory ความจำที่นำมาใช้งาน ความสามารถในการเก็บข้อมูล ประมวล และดึงข้อมูลที่เก็บในคลังสมองของเราออกมาใช้ตามสถานการณ์ที่ต้องการ
2. Inhibitory Control การยั้งคิด และควบคุมแรงปรารถนาของตนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จนสามารถหยุดยั้งพฤติกรรมได้ในกาลเทศะที่สมควร เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจ ก็เหมือน “รถที่ขาดเบรก”
3. Shift หรือ Cognitive Flexibility การยืดหยุ่นความคิด สามารถปรับเปลี่ยนความคิดให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปยืดหยุ่นพลิกแพลงเป็น เห็นทางออกใหม่ๆ และคิดนอกกรอบ”ได้
4. Focus / Attention การใส่ใจจดจ่อมุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่างต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่วอกแวก
5. Emotional Control การควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จัดการกับความเครียดความเหงาได้ มีอารมณ์มั่นคง และแสดงออกแบบที่ไม่รบกวนผู้อื่น
6. Planning and Organizing การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการเริ่มตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การเห็นภาพรวม จัดลำดับความสำคัญ จัดระบบโครงสร้าง จนถึงการแตกเป้าหมายให้เป็นขั้นตอน
7. Self -Monitoring การรู้จักประเมินตนเอง รวมถึงการตรวจสอบการงานเพื่อหาจุดบกพร่อง และรู้ตัวว่ากำลังทำอะไร ได้ผลอย่างไร
8. Initiating การริเริ่มและลงมือทำงานตามที่คิดเมื่อคิดแล้วก็ลงมือทำ ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
9. Goal-Directed Persistence ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำแล้ว มีความมุ่งมั่นบากบั่น ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆก็พร้อมฝ่าฟันจนถึงความสำเร็จ
สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป) ในฐานะ Content Experts ผู้เชี่ยวชาญเนื้อหาวิชาการ และเป็นผู้นำในการพัฒนากระบวนการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ที่เกี่ยวข้องกับเด็ก สตรี ครอบครัว ผู้สูงวัย ชุมชนและสังคม ได้ทำการจัดการความรู้เรื่อง “Executive Functions (EF)-ทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ” อันเป็นความรู้ที่วงการพัฒนาการเด็กในต่างประเทศกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งในประเทศไทยมี รศ.ดร.นวลจันทร์ จุฑาภักดีกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและคณะจากศูนย์วิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ศึกษาวิจัยและรวบรวมงานวิจัยจากต่างประเทศ และสถาบันอาร์แอลจีได้จัดการความรู้และพัฒนาให้ความรู้ EF เป็นที่เข้าใจง่าย โดยมุ่งหวังให้พ่อแม่และบุคลากรทางการศึกษา โดยเฉพาะปฐมวัยศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาเด็กได้อย่างเป็นรูปธรรม ด้วยมุ่งมั่นว่า EF จะเป็นองค์ความรู้หนึ่งที่จะร่วมส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาของไทยที่กำลังดำเนินอยู่ในขณะนี้
ขอบคุณข้อมูลจาก : สถาบันอาร์แอลจี (รักลูก เลิร์นนิ่ง กรุ๊ป)
http://www.siripenschool.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=2147486585&Ntype=11
---
16 วิธี พัฒนา Executive Function (EF)
https://www.thaihealth.or.th/
สสส.
https://bit.ly/2TTBLGr
---
16 วิธีที่จะทำให้น้องๆ พัฒนา Executive Function (EF) หรือทักษะการคิดเพื่อชีวิตที่สำเร็จ
1. ทำให้เด็กรู้สึกผูกพันไว้วางใจในพ่อแม่หรือคุณครู
2. จัดสรรสภาพแวดล้อมให้สะอาด สงบ ปลอดภัย มีหนังสือ ของเล่น เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้
3. มีโอกาสเรียนรู้ด้่วยการลงมือทำ
4. กินอิ่ม นอนหลับให้เพียงพอ
5. ได้ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
6. ฝึกให้รู้จักการอดทน รอคอย
7. ส่งเสริมให้เด็กทำงานจนเสร็จ
8. ฝึกให้เด็กๆ รู้จักรับผิดชอบในบ้านเล็กๆ น้อยๆ
9. สอนให้รู้จักคิดก่อนตอบ คิดก่อนทำ
10. สอนให้รู้จักจัดการอารมณ์ตัวเอง
11. สอนให้เด็กๆ พึ่งพาตัวเองตามวัย
12. สอนให้เด็กๆ รู้จักจัดการความเครียด
13. หมั่นเล่านิทานให้ฟัง โดยเลือกเรื่องราวที่ใกล้ตัวเด็ก และเป็นเรื่องเดียวกัน ไม่ได้แยกเป็นตอนสั้นๆ
14. พาเด็กไปเรียนรู้นอกสถานที่ เพราะเมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนจากเดิมจะกระตุ้นให้เด็กต้องคิดด้วยสมองส่วนหน้ามากขึ้น
15. เลือกของเล่นหรือเกมส์ที่ต้องใช้สมาธิและความจำ เช่น เลโก้ หมากฮอส เป็นต้น
16. สนับสนุนกิจกรรมเสริมทักษะ เช่น ดนตรี กีฬา งานศิลปะ ก็นับเป็นกิจกรรมที่ฝึกเชิงบริหารที่ดี ต้องใช้สมาธิ ทำงานอย่างเป็นลำดับขั้นตอน
เพราะทักษะ EF ไม่ได้ติดตัวเรามาตั้งแต่เกิด และพัฒนาได้มากที่สุดในช่วงปฐมวัย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องช่วยฝึกฝนทักษะนี้ให้กับลูก เพื่อสร้างรากฐานกระบวนการคิด การตัดสินใจ และเพื่อให้ลูกน้อยในวันนี้ เป็นคนที่ประสบความสำเร็จได้ในอนาคต