คู่มือสำหรับพ่อแม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านการดูแลและพัฒนาเด็กตามช่วงวัย มีคู่มือแยกตามวัย
ใช้เป็นคู่มือ_พัฒนาทักษะสมอง_EF_สำหรับครูปฐมวัย และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ตามวัยอื่นๆได้ เป็นต้นว่า
เด็กปฐมวัยเด็กเล็ก 0-3 ปี
เด็กวัยอนุบาล 3-6ปี
เด็กวัยเรียน6-12ปี
และวัยรุ่นไม่ยากอย่างที่คิด
พ่อแม่จะได้เรียนรู้ ความสำคัญของช่วงวัยต่าง ๆ , พัฒนาการของเด็กตามแต่ละช่วงอายุ, อาหารและการส่งเสริมพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมของแต่ละช่วงวัย, สังเกตการเจริญเติบโตตามวัย, วิธีการเลี้ยงดูและการส่งเสริมสุขภาพ รวมถึงปัญหาต่าง ๆของเด็กแต่ละช่วงวัย
โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือการพัฒนาเด็กตามช่วงวัยต่างๆ ฉบับเต็มได้ตามนี้
โดยคลิกที่ภาพหน้าปกคู่มือ หรือสแกน QR ที่แสดงไว้ เพื่อดาวน์โหลดคู่มือ
|
ขอขอบคุณที่มา: ทีมบรรณาธิการ
รศ.พญ.บุญยิ่ง มานะบริบูรณ์
ผศ.นพ.พนม เกตุมาน
ผศ.พญ.สุภิญญา อินอิว
นพ.เฉลิมพงษ์ ธัญพิพัฒน์
พญ.นภาไพลิน เศรษฐพานิช
พญ.สุธาทิพย์ เอมเปรมศิลป์
ศ.คลินิก พญ.วินัดดา ปิยะศิลป์
ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
แนะนำคู่มือการเลี้ยงลูกยุคใหม่ จิตวิทยาครอบครัว เน็ตป๊าม้า(Net.PAMA)
คู่มือการเลี้ยงลูกยุคใหม่ ทำความรู้จักกับ Net PAMA โปรแกรมออนไลน์
"การสอนการปรับพฤติกรรมลูก"
จะดีแค่ไหนถ้าเราได้เห็นครอบครัวที่พ่อแม่ทุกคนมีความรู้และเทคนิคที่ดีในการเลี้ยงลูก
เพื่อสร้างบรรยกาศแห่งความสุข รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ และความผูกพัน
อันแน่นแฟ้นระหว่างสมาชิกในครอบครัว
เพราะครอบครัวคือจุดเริ่มต้นของความสุข ความรู้ และความสำเร็จเร็จทั้งปวง
ตัวอย่างคู่มือพัฒนาเด็กตามวัย พอสังเขป
ขอขอบคุณที่มา: โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
ท่านสามารถดาวน์โหลดคู่มือการพัฒนาเด็ก 3-6 ขวบ ฉบับเต็มได้จากตาราง
ขอขอบคุณที่มา: โดย ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย
Executive Functions-EF ที่สำคัญมีทั้งหมด 9 ด้าน
1.ทักษะความจำที่นำมาใช้งาน (Working Memory) คือทักษะจำหรือเก็บข้อมูลจากประสบการณ์ที่ผ่านมา และดึงมาใช้ประโยชน์ตามสถานการณ์ที่พบเจอ เด็กที่มีเวิร์กกิ้ง เมมโมรีดี ไอคิวก็จะดีด้วย
2.ทักษะการยับยั้งชั่งใจ-คิดไตร่ตรอง (Inhibitory Control) คือความสามารถในการควบคุมความต้องการของตนเองให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ขาดความยับยั้งชั่งใจจะเหมือน "รถที่ขาดเบรก" อาจทำสิ่งใดโดยไม่คิด มีปฏิกิริยาในทางที่ก่อให้เกิดปัญหาได้
3.ทักษะการยืดหยุ่นความคิด (Shift Cognitive Flexibility) คือความสามารถในการยืดหยุ่นหรือปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นได้ ไม่ยึดตายตัว
4.ทักษะการใส่ใจจดจ่อ (Focus) คือความสามารถในการใส่ใจจดจ่อ มุ่งความสนใจอยู่กับสิ่งที่ทำอย่าง ต่อเนื่องในช่วงเวลาหนึ่ง
5.การควบคุมอารมณ์ (Emotion Control) คือ ความสามารถในการควบคุมแสดงออกทางอารมณ์ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม เด็กที่ควบคุมอารมณ์ตัวเอง ไม่ได้ มักเป็นคนโกรธเกรี้ยว ฉุนเฉียว และอาจมีอาการซึมเศร้ารู้จัก \'EF\' ทักษะฝึกสมองบ่มเพาะ
6.การประเมินตัวเอง (Self-Monitoring) คือการสะท้อนการกระทำของตนเอง รู้จักตนเอง รวมถึงการประเมินการงานเพื่อหาข้อบกพร่อง
7.การริเริ่มและลงมือทำ (Initiating) คือ ความสามารถในการริเริ่มและลงมือทำตามที่คิด ไม่กลัวความล้มเหลว ไม่ผัดวันประกันพรุ่ง
8.การวางแผนและการจัดระบบดำเนินการ (Planning and Organizing) คือทักษะการทำงาน ตั้งแต่การตั้งเป้าหมาย การวางแผน การมองเห็นภาพรวม ซึ่งเด็กที่ขาดทักษะนี้จะวางแผนไม่เป็น ทำให้งานมีปัญหา
9.การมุ่งเป้าหมาย (Goal-Directed Persistence) คือ ความพากเพียรมุ่งสู่เป้าหมาย เมื่อตั้งใจและลงมือทำสิ่งใดแล้ว ก็มีความมุ่งมั่นอดทน ไม่ว่าจะมีอุปสรรคใดๆ ก็พร้อมฝ่าฟันให้สำเร็จ
EF เกี่ยวข้องกับความสำเร็จอย่างไร รศ.ดร.นวลจันทร์อธิบายว่า มีงานวิจัยมากมายระบุว่าเด็กที่มี EF ดี จะมีความพร้อมทางการเรียนมากกว่าเด็กที่ EF ไม่ดี และประสบความสำเร็จได้ในการเรียนทุกระดับ ตั้งแต่อนุบาล ประถม มัธยม ไปถึงมหาวิทยาลัย จนกระทั่ง ในการทำงาน เด็กที่หยุดได้ ไตร่ตรองเป็น ไม่หุนหันพลันแล่น มีเป้าหมาย และทำตามเป้าหมายให้สำเร็จ นี่แหละจะทำให้เขาประสบความสำเร็จเมื่อโตขึ้น
ขอบคุณ ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน